Winnie The Pooh Bear Inclusive Education Experiences Management for Early Childnood: พฤษภาคม 2015
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 30 เมษายน 2558 ครั้งที่ 16



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี    30    เมษายน    2558    ครั้งที่ 16

เวลาเรียน  14.10 - 16.40 น.



สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายขอการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยวันนี้อาจารย์นัดสอบร้องเพลงเป็นรายบุคคลโดยที่อาจารย์จะสุ่มจับฉลากถ้าจับโดนหมายเลขอะไอก็ให้นักศึกษาหมายเลขนั้นออกมาร้องเพลง โดยให้นักศึกษาจับฉลากว่าจะได้เพลงอะไร

วันนี้ที่จับฉลากได้เพลง นกกระจิบ 

นั่นนก บินมาลิบลิบ 

นกกระจิบ     1   2     3    4     5

อีกฝูงบินล่องลอยมา    6     7    8     9    10   ตัว



นี่ก็เป็นอีกรูปที่มีความรักต่อเพื่อนๆและอาจารย์









และในวันนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์เบียร์ที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาทุกคน คอยให้คำปรึกษาทุกอย่าง เวลาเรียนไม่ทำให้นักศึกษาเครียด  เป็นกันเองเปรียบสเหมือนพี่กับน้อง ที่คอยชี้แนะและให้คำปรึกษา  เป็นอาจารย์ที่น่ารักของนักศึกษาทุกคน  เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้ทำอะไรหลายอยากที่นักศึกษาไม่เคยรู้มาก่อน คอยชี้แนะเมื่อนักศึกษาประพฤติไม่ดี  คอยให้กำลังใจนักศึกษาทุกคนที่ท้อ หมดหวัง ขอบคุณอาจารย์มากๆน่ะค่ะ ขอให้อาจาย์น่ารักแบบนี้ตอลอดไปน่ะค่ะ  รักอาจารย์ที่ซู๊ดดดดดดด



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 21 เมษายน 2558 ครั้งที่ 15



บันทึกอนุทิน


วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น


วัน/เดือน/ปี  21 เมษายน 2558  ครั้งที่  15

เวลาเรียน   14.10 - 16.40 น.



โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล


(Individualized Education Program)


แผน IEP

แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP

คัดแยกเด็กพิเศษ

ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด

เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP


IEP ประกอบด้วย

ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน

เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

วิธีการประเมินผล

ปรโยนช์ต่อเด็ก

ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยนช์ต่อครู


เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก

เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยนช์ต่อผู้ปกครอง

ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ

ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร

เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

การรวบรวมข้อมูล

รายงานทางการแพทย์

รายงานการประเมินด้านต่างๆ

บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำแผน

ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
จะสอนใคร
พฤติกรรมอะไร
เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ใคร  อรุณ
อะไร  กระโดดขาเดียวได้ 
เมื่อไหร่ / ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง
  ในเวลา 30 วินาที
การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. .อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
  การจัดทำแผน IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3.การใช้แผน
4.การประเมิน
วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำแผน IEP กลุ่มละ 5 คน โดยให้เพื่อนๆภายในกลุ่มยกตัวอย่างเด็กพิเศษมา 1 คน โดยที่เพื่อนๆจะเลือกใครในกลุ่มก็ได้ให้เป็นเด็กพิเศษ
ประเมินตนเอง  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนค่ะ

                                                                                           







  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/ดือน/ปี 14 เมษายน 25558 ครั้งที่ 14



บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

 อาจาารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/ดือน/ปี     14    เมษายน    25558    ครั้งที่  14

เวลาเรียน  14.10 -16.40 น


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนอยู่ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์






  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 7 เมษายน 2558 ครั้งที่ 13





บันทึกอนุทิน  


           
  วิชาการจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย               
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี   7   เมษายน     2558   ครั้งที่  13
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



ทักษะพื้นฐานทางการเรียน



เป้าหมาย


 - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

-  
-   มีความรู้สึกดีต่อตนเอง

- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”

- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ

- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร



การเลียนแบบ
   
 พฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็ก (Imitation Behavior in children) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมของเด็กที่ถูกกระตุ้นด้วยระบบการรับรู้ของร่างกาย (Perception system) จากแบบอย่าง (Model) ที่คอยดึงความสนใจและชี้นำให้เด็กปฏิบัติตาม หากจะพูดถึงพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกสัตว์จะเฝ้าสังเกต จดจำ และลอกเลียนแบบการกระทำของสมาชิกรุ่นพี่

     ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบจะแตกต่างไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ และเพศ พฤติกรรมการแสดงออกของเด็กสามารถสะท้อนความใส่ใจและการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมเขา ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กมีลักษณะดังนี้
  • ลูกมีการใช้ภาษาแปลกๆ หรือวาจาผรุสวาส สบถ หรือศัพท์แสลง
  • ชอบนำสิ่งของเครื่องใช้ติดที่ตัวมาใช้เป็นอาวุธทำร้ายผู้อื่น
  • ติดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น ไอแพท ไอโฟน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ชอบใช้วลีเด็ดตามละคร ตามการ์ตูน หรือใช้คำศัพท์ที่มีผู้คิดขึ้นใหม่ๆโดยไม่รู้ความหมาย
  

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ


- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่


- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก






การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-  ต่อบล็อก
-  ศิลปะ
-  มุมบ้าน
-  ช่วยเหลือตนเอง


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ


- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


   เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด



กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

    

      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้
        
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทาง        คณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง 



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ


- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเค


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


















  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS