Winnie The Pooh Bear Inclusive Education Experiences Management for Early Childnood: บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 7 เมษายน 2558 ครั้งที่ 13
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 7 เมษายน 2558 ครั้งที่ 13





บันทึกอนุทิน  


           
  วิชาการจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย               
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี   7   เมษายน     2558   ครั้งที่  13
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



ทักษะพื้นฐานทางการเรียน



เป้าหมาย


 - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

-  
-   มีความรู้สึกดีต่อตนเอง

- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”

- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ

- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร



การเลียนแบบ
   
 พฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็ก (Imitation Behavior in children) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมของเด็กที่ถูกกระตุ้นด้วยระบบการรับรู้ของร่างกาย (Perception system) จากแบบอย่าง (Model) ที่คอยดึงความสนใจและชี้นำให้เด็กปฏิบัติตาม หากจะพูดถึงพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกสัตว์จะเฝ้าสังเกต จดจำ และลอกเลียนแบบการกระทำของสมาชิกรุ่นพี่

     ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบจะแตกต่างไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ และเพศ พฤติกรรมการแสดงออกของเด็กสามารถสะท้อนความใส่ใจและการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมเขา ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กมีลักษณะดังนี้
  • ลูกมีการใช้ภาษาแปลกๆ หรือวาจาผรุสวาส สบถ หรือศัพท์แสลง
  • ชอบนำสิ่งของเครื่องใช้ติดที่ตัวมาใช้เป็นอาวุธทำร้ายผู้อื่น
  • ติดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น ไอแพท ไอโฟน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ชอบใช้วลีเด็ดตามละคร ตามการ์ตูน หรือใช้คำศัพท์ที่มีผู้คิดขึ้นใหม่ๆโดยไม่รู้ความหมาย
  

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ


- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่


- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก






การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-  ต่อบล็อก
-  ศิลปะ
-  มุมบ้าน
-  ช่วยเหลือตนเอง


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ


- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


   เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด



กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

    

      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้
        
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทาง        คณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง 



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ


- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเค


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


















  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น