Winnie The Pooh Bear Inclusive Education Experiences Management for Early Childnood: มีนาคม 2015
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 18 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 10




บันทึกอนุทิน  



             วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย                   
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี  18    มีนาคม      2558   ครั้งที่  10
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะเด็กพิเศษมีทั้งหมด 3 ทักษะ
  1. ทักษะทางสังคม
  2. ทักษะภาษา
  3. ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม

ทักษะด้านช่วยเหลือตนเองและทักษะทางสังคม
   
    การช่วยเหลือตนเองและทักษะทางสังคม เป็นความสามารถที่พัฒนาผสมผสานจากทักษะด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย การประสานการทำงานระหว่างตากับมือ เพื่อทำกิจหรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความสามารถในการฟัง เข้าใจ และปฏิบัติตามคำขอร้อง รวมทั้งสื่อสารกับคนอื่นๆ ให้เข้าใจ ผู้ที่มีทักษะการช่วยเหลือตนเองและทักษะทางสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมจะมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมีบุคลิกภาพที่ดี

ประโยชน์การเรียนรู้การช่วยเหลือตนเองและทักษะทางสังคม

1. เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน และช่วยเหลืองานบ้าน ตลอดจนประกอบอาชีพตามความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อดำรงชีวิตตนเองและครอบครัวต่อไป
2. ทำให้เด็กมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
3. ทำให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี มีการประพฤติปฏิบัติตนเองได้อย่างเหมาะสม
4. ทำให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและต่อผู้อื่น ตรงต่อเวลา และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดี ของสังคมต่อไป

แบ่งออกเป็น 5 หมวดดังนี้

1. ทักษะทางสังคมและการเล่น
2. การกินอาหารและดื่มน้ำ
3. การแต่งตัว
4. การขับถ่าย
5. ทำความสะอาดร่างกาย 











กิจกรรมต่อไป กิจกรรมวงกลม

วัสดุอุปกรณ์
  1. กระดาษ
  2. สีเทียน



ผลงานที่ออกมา

 อาจารย์แจกเนื้อเพลงให้ร้อง












  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 10 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 9



 บันทึกอนุทิน  



             วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย                   
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี  10    มีนาคม      2558   ครั้งที่  9
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.


วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องการเตรียมตัวสอบบรรจุข้าราชการ พ.ร.บ. การศึกษาประเทศไทยมี

ทั้งหมด 3   ด้าน

  1. ภาค   ก  ด้านแรกสอบเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป / มาตรฐานวิชาชีพครู/ สิ่งที่เราได้เรียนมา
  2. ภาค  ข   ด้านที่สองจะสอบเกี่ยวกับวิชาเอกของแต่ละสาขา
  3. ภาค   ค  ด้านที่สามสอบสัมภาษณ์/ 6 กิจกรรมหลัก



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย


ทัษะเด็กพิเศษมีทั้งหมด 3  ทักษะ

  1. ทักษะสังคม
  2. ทักษะภาษา
  3. ทักษะช่วยเหลือตนเอง
   ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

          การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก  ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง สรุปได้ดังนี้

1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษา

    1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
    1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
    1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
    1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
    1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

    2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง
    2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
    2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
    2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
    2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค
    2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
    2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์
    2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล


ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด






ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
ให้เวลาเด็กได้พูด
คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว




กิจกรรมดนตรีบำบัด


โดยกิจกรรมนี้สามารถบ่งบอกถึงบุคคลิและนิสัยของแต่ละคนได้ว่าเป็นอย่างไร โดยดูจากรูปภาพ

   

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 3 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 8



 บันทึกอนุทิน  


             

               วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย                   

                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี  3    มีนาคม      2558   ครั้งที่  8
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.




สัปดาห์นี้อาจารย์มีเกมมาให้นักศึกษาเล่น  ชื่อ เกมว่ารถไฟเหาะแห่งชีวิต ทำให้เพื่อนๆเกิด

ความสนุกสนานเพลิดเพลินกันทั้งห้องในการเล่นเกมที่อาจารย์นำมาให้เล่นเกิดความผ่อน

คลายก่อนเข้าสู่บทเรียนในสัปดาห์นี้


ภาพที่อาจารย์นำมาให้เล่น













การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



ทักษะทางสังคม


     เป็นความสามารถที่เราสามารถรู้จักเข้าใจความ รู้สึก ความต้องการทางจิตใจ หรือความต้องการต่าง ๆ ของคนที่เราเกี่ยวข้องด้วย รวมทั้ง รู้จักที่จะสร้างสานสายสัมพันธ์ให้มั่นคงด้วยความรัก ความเอาใจใส่เอื้ออาทรต่อผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง รู้จักการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ 




กิจกรรมการเล่น

   เด็กวัยนี้อาจยังไม่พร้อมเต็มร้อยที่จะมีเพื่อน แต่ก็จะเริ่มเข้าสังคมและเล่นกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ระยะ

แรกๆ อาจจะเพียงเข้าไปนั่งใกล้กลุ่มเพื่อนๆ ที่กำลังเล่นอยู่ จากนั้นก็จะค่อยๆ เล่นกับเพื่อนได้ในที่สุด


ยุทธศาสตร์การสอน

  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
คือ วางแผนการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน และให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กๆเล่น


   อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครูไม่ควรชมเชยหรือ

สนใจเด็กมากเกินไป ควรเอาอุปกรณ์มาเพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่นเพื่อให้เกิดความคิดที่เป็นแรง

เสริม

กิจกรรมดนตรีบำบัด



ผลงานที่ออกมา







บรรยากาศภายในห้อง




กิจกรรมร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย









  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 24 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 7



 บันทึกอนุทิน  


             
               วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย                   
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี  24    กุมภาพันธ์      2558   ครั้งที่  7
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.



สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน อยู่ในช่วงสอบกลางภาค








  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 17 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 6



 บันทึกอนุทิน  


             
               วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย                   
                    
              
           อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น               

           
       วัน/เดือน/ปี  17    กุมภาพันธ์      2558   ครั้งที่  6 
    

เข้าสอน    14:10   -   17:30     น.

การสอนเด็กปกติและเด็กพิเศษ



การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้,  มีปฎิสัมพันธ์กันเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • รู้จักนิสัยและลักษณะของเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็นเด็ก

การขัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก     จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก


  • วุฒิภาวะ
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส

     การเตรียมความพร้อมเด็กหมายถึง การที่เด็กมี พัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย อารมจิตใจ 
สังคม และสติปัญญา เพียงพอที่จะรับรู้สิ่งต่าง ๆได้โดย ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรค ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการ กระทำนั้น ๆ ยังให้บังเกิดผลตัวเองที่ดีต่อตัวเองและการ เรียนรู้ ความพร้อมของเด็กในการเรียน

ความสัมพันธ์ อย่างยิ่งกับพัฒนาการของเด็ก
              
  การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

     เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างรอบด้าน  ทั้งด้านพัฒนาการการเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเอง  สังคม อารมณ์  จิตใจ สติปัญญา และร่างกาย 



การสอนโดยบังเอิญ

  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
  • เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่  ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก
อุปกรณ์

  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใชประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน

เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ

กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้

เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ

คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา



ทัศนคติของครู


ความยืดหยุน

การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยา

ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ

สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน


การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้

เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม

การให้การเสริมแรง(Reinforcement) เป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และถือได้ว่าเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเสริมแรงทางบวก(Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ(Negative Reinforcement) 


แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่

ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก

มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที

หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป


หลักการให้แรงเริมในเด็กปฐมวัย

ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์

ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์

ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์


ขั้นตอนการให้แรงเสริม

สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
สอนจากง่ายไปยาก
ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS