บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 17 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 6
เข้าสอน 14:10 - 17:30 น.
การสอนเด็กปกติและเด็กพิเศษ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้, มีปฎิสัมพันธ์กันเด็กพิเศษและเด็กปกติ
- รู้จักนิสัยและลักษณะของเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก
การขัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส
การเตรียมความพร้อมเด็กหมายถึง การที่เด็กมี พัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย อารมจิตใจ
ความสัมพันธ์ อย่างยิ่งกับพัฒนาการของเด็ก
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างรอบด้าน ทั้งด้านพัฒนาการการเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเอง สังคม อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และร่างกาย
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
- เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใชประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ
•เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
•กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
•เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
•การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
•คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุน
•การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
•ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
•ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยา
•ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
•สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
•เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
•เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
การให้การเสริมแรง(Reinforcement) เป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และถือได้ว่าเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเสริมแรงทางบวก(Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ(Negative Reinforcement)
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
•ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
•มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
•หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเริมในเด็กปฐมวัย
•ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
•ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
•ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
•สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
•วิเคราะห์งาน
กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
•สอนจากง่ายไปยาก
•ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
•ลดการบอกบท
เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
•ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
•ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
“ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
•ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
•จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น